เมนู

ภิกษุนั้นถือเอาทรัพย์นั้นล่วงเลยแดนกำหนดที่หมายไว้ไป เป็นปาราชิก. ถ้า
เธอกำหนดหมายแดนอุปจารไว้ เดินมุ่งหน้าไปทางนั่นเอง มนสิการกรรม-
ฐานเป็นต้นอยู่ก็ดี ส่งใจไปทางอื่นก็ดี ก้าวล่วงแดนอุปจารไป ด้วยทั้งไม่มีสติ
เป็นภัณฑไทย. แม้ถ้าเมื่อเธอไปถึงที่นั้นแล้ว มีโจร ช้าง เนื้อร้าย หรือ
มหาเมฆตั้งขึ้น และเธอก้าวล่วงสถานที่นั้นไปโดยเร็ว เพราะใคร่จะพ้นจาก
อุปัทวะนั้น เป็นภัณฑไทยเหมือนกัน. ก็ในคำนี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
เพราะในเบื้องต้นนั่นเอง เธอถือเอาด้วยไถยจิต; ฉะนั้น จึงรักษาไว้ไม่ได้
เป็นอวหารทีเดียว. นี้เป็นนัยในมหาอรรถกถาก่อน. ส่วนในมหาปัจจรี ท่าน
กล่าวไว้ว่า แม้ถ้าเธอรูปนั้น ขึ้นขี่ช้างหรือม้าอยู่ภายในแดนกำหนดไม่ขับช้าง
หรือม้านั้นไปเอง ท่านไม่ให้ผู้อื่นขับไป แม้เมื่อล่วงเลยแดนกำหนดไป ย่อม
ไม่เป็นปาราชิก เป็นเพียงภัณฑไทยเท่านั้น. ในปริกัป 2 อย่างนั้น ปริกัป
ที่เป็นไปว่า ถ้าพวกชนจักเห็นเราในระหว่างนี้ เราจักคืนแก่ชนเหล่านั้นนั่นแหละ
ทำทีเป็นหยิบ เพื่อต้องการจะดูเที่ยวไป นี้ ชื่อว่าโอกาสปริกัป. อวหารของ
ภิกษุผู้กำหนดไว้แล้วถือเอา ด้วยอำนาจแห่งปริกัป แม้ทั้ง 2 เหล่านี้ ดัง
พรรณนามาอย่างนี้ พึงทราบว่า เป็นปริกัปปาวหาร.

[

อรรถาธิบายปฏิจฉันนาวหาร

]
ส่วนการปกปิดไว้แล้วจึงลัก ชื่อว่าปฏิจฉันนาวหาร. ปฏิจฉันนาวหาร
นั้น พึงทราบอย่างนี้ :- ก็ภิกษุรูปใด เมื่อพวกมนุษย์กำลังเล่นอยู่ หรือ
กำลังเข้าไปในสวนเป็นต้น เห็นสิ่งของ คือ เครื่องอลังการซึ่งเขาถอดวางไว้
จึงเอาฝุ่นหรือใบไม้ปกปิดไว้ ด้วยคิดในใจว่า ถ้าเราจักก้มลงถือเอา, พวก
มนุษย์จักรู้เราว่า สมณะถือเอาอะไร ? แล้วจะพึงเบียดเบียนเรา จึงคิดว่า
ภายหลัง เราจักถือเอา ดังนี้, การยกสิ่งของขึ้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ยังไม่มี

แก่ภิกษุรูปนั้น; เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอวหารก่อน. แต่เวลาใด พวก
มนุษย์เหล่านั้นประสงค์จะเข้าไปภายในบ้าน แม้เมื่อค้นหาสิ่งของนั้น ก็ไม่เห็น
จึงคิดว่า บัดนี้ ค่ำมืดแล้ว, พรุ่งนี้ก่อนเถิด พวกเราจึงจักรู้ แล้วก็ไปทั้งที่
ยังมีความอาลัยอยู่นั่น เอง, เวลานั้น เมื่อภิกษุนั้น ยกสิ่งของนั้นขึ้น เป็น
ปาราชิกในขณะที่ยกขึ้น. แต่เมื่อภิกษุถือเอาในเวลาที่ปกปิดไว้แล้ว นั่นเอง
ด้วยสกสัญญาว่า เป็นของเรา หรือด้วยบังสุกุลสัญญาว่า บัดนี้ มนุษย์เหล่านั้น
ไปแล้ว พวกเขาได้ทั้งสิ่งของนี้แล้ว เป็นภัณฑไทย. เมื่อมนุษย์เหล่านั้น
กลับมาในวันที่ 2 แม้ตรวจค้นดูแล้วก็ไม่เห็น จึงได้ทอดธุระกลับไป สิ่งของ
ที่เธอถือเอาเป็นภัณฑไทยเหมือนกัน. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่าพวกเขา
ไม่เห็นสิ่งของด้วยความพยายามของภิกษุนั้น. ส่วนภิกษุใด พบเห็นสิ่งของ
เห็นปานนั้น ซึ่งยังคงตั้งอยู่ในที่เดิมนั่นเอง ไม่ได้ปกปิดไว้ แต่มีไถยจิต
เอาเท้าเหยียบกดให้จมลงในเปือกตม หรือในทราย, พอเธอกดให้จมลงเท่านั้น
เป็นปาราชิก.

[

อรรถาธิบายกุสาวหาร

]
การสับเปลี่ยนสลากแล้ว ลัก ท่านเรียกว่า กุสาวหาร. แม้กุสาวหาร
นั้น. พึงทราบดังนี้:- ภิกษุรูปใด เมื่อภิกษุจีวรภาชกะกำลังจัดวางสลากแจก
จีวร ใคร่จะนำเอาส่วนของภิกษุรูปอื่น ซึ่งมีราคามากกว่า* ที่ตั้งอยู่ใกล้ส่วน
ของตนไป ใคร่จะวางไม้สลากที่จีวรภาชกภิกษุวางไว้ในส่วนของตน ลงไว้
ในส่วนของภิกษุรูปอื่น จึงยกขึ้น ยังรักษาอยู่ก่อน. เธอวางลงไว้ในส่วนของ
//* ประโยควรรคนี้ ตามเชิงอรรถไว้ก็ดี ในอรรถโยชนาก็ดี และสารัตถทีปนีก็ดี มีตกหล่นอยู่
//หลายศัพท์ แปลตามเชิงอรรถดังนี้ :- ภิกษุรูปใด ใคร่จะนำเอาส่วนของภิกษุรูปอื่น ซึ่งมีราคา
//น้อยกว่าหรือมากกว่า หรือเท่า ๆ กัน โดยราคาแห่งส่วนของตน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ส่วนของตนไป
//ดังนี้. สามนต์ฉบับที่เราใช้อยู่นี้ จะลอกคัดตกไปกระมัง เพราะในอรรถโยชนาและสารัตถทีปนี
//ก็มีแก้ไว้.